การกำกับดูแลเพื่อความยั่งยืน

บริษัทฯ คำนึงถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมุ่งมั่นดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญ อย่างยิ่งต่อการปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท รวมถึงข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด มุ่งเน้นความโปร่งใสและประสิทธิผลในการ บริหารงาน อันเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทและเพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณค่าและยั่งยืนจึงได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (CGSC) เพื่อการสนับสนุนคณะกรรมการ บริษัทในการกำกับดูแลเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (ESG) โดยมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน รวมถึงติดตามดูแลการปฏิบัติงานตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนดไว้

นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อความยั่งยืน เพื่อผลักดันความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามเป้าหมายด้านความ ยั่งยืนมีการจัดทำนโยบายแนวปฏิบัติรวมถึงการหารือเชิงกลยุทธ์เพื่อ ขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนโดยคณะทำงานด้านความยั่งยืนได้มีการสรุปผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการ CGSC ปีละ 2 ครั้งและรายงานความก้าวหน้าไปยังคณะกรรมการ บริหารในทุกเดือน

อ่านเพิ่มเติม

โครงสร้างการกำกับดูแลด้านความยั่งยืน

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท

ตัวชี้วัดการดำเนินงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

เพื่อกำกับดูแลผลการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความคืบหน้าตามแผนงานความยั่งยืนขององค์กร คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวชี้วัดทางการเงินและด้าน ESG นอกจากนี้ ตัวชี้วัดของประธานเจ้าหน้าที่บริหารยังสอดคล้องกับตัวชี้วัดผลปฏิบัติงาน ของผู้บริหารระดับสูง รวมถึงได้มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดนี้มายังพนักงานในระดับปฏิบัติการอีกด้วย

ตัวอย่างตัวชี้วัดด้านการเงิน
  • รายได้สุทธิ
  • กำไรสุทธิ
  • การบริหารจัดการสินทรัพย์
ตัวอย่างตัวชี้วัดด้าน ESG
  • สิ่งแวดล้อม
    • ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)
  • สังคม
    • การจัดการข้อร้องเรียนของชุมชน/สังคม
    • อัตราการลาออกของพนักงาน
  • เศรษฐกิจและบรรษัทภิบาล
    • การจัดการข้อร้องเรียนด้านทุจริตคอร์รัปชัน
  • ESG
    • ผลการประเมินความยั่งยืน SET ESG Ratings
สัดส่วนตัวชี้วัด
ด้านการเงิน
%
ด้าน ESG
%

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  • กฎบัตรคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดาวน์โหลด
  • ประกาศแต่งตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืน ดาวน์โหลด

การบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดําเนินการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ เพื่อจัดการกับปัญหาอุปสรรค รวมถึงสถานการณ์ที่ไม่คาด คิดหรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย โดยบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงและกรอบแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่ สอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management: ERM) โดยครอบคลุมความเสี่ยงทุกประเภทเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ ได้นำกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กร COSO ERM 2017 มาเป็นหลักในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร เพื่อสร้างความตระหนักรู้และปลูกฝังวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร บริษัทฯ จึงได้ ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล คือ Committee of the Sponsoring Organizations of the Treadway Commission (COSO) เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทั่วทั้งองค์กรสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และเพื่อให้ การบริหารความเสี่ยงมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล

สรุปผลการดำเนินงาน 2566

โครงสร้างบริหารความเสี่ยง

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การต่อต้านทุจริตและจรรยาบรรณทางธุรกิจ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย คณะกรรมการบริษัทจึงได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกระดับตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติงานอย่างสุจริตและโปร่งใส บริษัทฯ ได้จัดทำช่องทางการร้องเรียน และมีการตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันและตรวจสอบการกระทำที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรมทางธุรกิจและการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันแก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่โปร่งใสและยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ตลอดจนเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจในระยะยาว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 บริษัทฯ ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) และได้รับตรา 2 ดาว สำหรับบริษัทที่ผ่านการรับรอง แสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ที่ในการดำเนินธุรกิจอย่าง “ขาวสะอาด โปร่งใส ไร้คอร์รัปชัน”

สรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนกรณีการทุจริตคอร์รัปชันและการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจในทุกรูปแบบ

เป้าหมายปี 2566
กรณี
ผลการดำเนินงานปี 2566
กรณี

โครงสร้างการกำกับดูแลด้านการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน

กลไกการดำเนินการ และ ตอบสนองเรื่องร้องเรียนการทุจริตและคอร์รัปชัน

ผู้ร้องเรียนแจ้งเบาะแสมายังช่องทางของบริษัทฯ
ลงทะเบียนรับเรื่องร้องเรียน
พิจารณากลั่นกรองข้อมูลเบื้องต้นและจัดทำสรุป เบื้องต้น นำเสนอให้ผู้รับเรื่องร้องเรียนพิจารณา
ดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง
คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงทำการสืบสวน และรายงานผลการสืบสวนมาตรการ การแก้ไขผลกระทบ การป้องกันการเกิดเหตุซ้ำและบทลงโทษให้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบตามแต่ละกรณี
แจ้งผลการสอบสวนแก่ผู้ร้องเรียน
ผู้รับเรื่องร้องเรียนรายงานผลการสืบสวนต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบ

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจและความผูกพัน ด้วยความเชี่ยวชาญในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ผ่านประสบการณ์มากกว่า 30 ปี โดยมีผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายมากกว่า 2,000 SKUs รวมถึงการทำงานร่วมกับลูกค้ากว่า 200 แบรนด์ ด้วยสายการผลิตที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าในกว่า 25 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า

โดยนำความคิดเห็นของลูกค้ามาประกอบการพิจารณาในการกำหนดกลยุทธ์สำหรับการขาย การคัดเลือกสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ่านการรับฟังเสียงของลูกค้า การประเมินความพึงพอใจการรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อ นำมาปรับปรุงตามความคาดหวังของลูกค้า รวมถึงเปิดช่องทางการ รับฟังความคิดเห็นและการรับเรื่องร้องเรียนของบริษัทฯ ที่จัดให้มีขึ้นอย่างหลากหลาย เพื่อยกระดับความผูกพันของลูกค้าและคงความสามารถในการรักษาฐานลูกค้าที่ทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน

อ่านเพิ่มเติม
สรุปผลการดำเนินงาน

ระดับความพึงพอใจของลูกค้าโดยรวม (Customer Satisfaction Score)

เป้าหมายปี 2566
%
ผลการดำเนินงานปี 2566
%

เหตุการณ์ละเมิดความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

เป้าหมายปี 2566
กรณี
ผลการดำเนินงานปี 2566
กรณี

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน ผ่านความร่วมกับคู่ค้าทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ความรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิมนุษยชน และจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะนำมาผนวกเข้ากับการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG กระบวนการคัดกรองคู่ค้า และการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า บริษัทฯ ยังได้กำหนด “จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ" เพื่อให้คู่ค้าทุกราย ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ยุติธรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวไปพร้อมกับบริษัทฯ

อ่านเพิ่มเติม
สรุปผลการดำเนินงาน

คู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 suppliers) ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG

เป้าหมายปี 2566
%
ผลการดำเนินงานปี 2566
%

คู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 suppliers) ได้รับการตรวจประเมินความเสี่ยงด้านเชิงรุก ด้าน ESG (Comprehensive Assessment)

เป้าหมายปี 2566
%
ผลการดำเนินงานปี 2566
%

การระบุคู่ค้าธุรกิจของบริษัท

หลักเกณฑ์พิจารณาคู่ค้า รายสำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1)
  • คู่ค้ารายสำคัญที่ขายสินค้าและบริการให้ กับบริษัทโดยตรง และ
  • คู่ค้าที่มีมูลค่าการซื้อสูงสุด 20 อันดับแรกจากมูลค่าการจัดซื้อทั้งหมด และ/หรือ
  • คู่ค้าที่ไม่สามารถทดแทนได้
หลักเกณฑ์พิจารณาคู่ค้า รายสำคัญลำดับถัดไป (Critical Non-Tier 1)
  • คู่ค้ารายสำคัญที่เป็นผู้ผลิตหรือให้บริการ แก่คู่ค้าลำดับที่ 1 และ/หรือ
  • คู่ค้าที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธิ์ต่อการผลิต สินค้าหรือบริการต่อบริษัท

การประเมินความเสี่ยงคู่ค้ารายสำคัญลำดับที่ 1 (Critical Tier 1 Supplier)

ประเภทคู่ค้า จำนวนคู่ค้า (ราย) จำนวนคู่ค้าที่ได้รับการตรวจประเมิน (ราย) ผลการประเมินความเสี่ยง
Self-Assessment Onsite Audit
Packaging 7 7 5 ความเสี่ยงต่ำ
Fresh Raw Material 5 5 5 ความเสี่ยงต่ำ
Raw Material 7 7 5 ความเสี่ยงต่ำ
Fuel 1 1 0 ความเสี่ยงต่ำ

การควบคุมคุณภาพและ ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่คุณภาพสูง ตามหลักมาตรฐานสากลด้วยการพัฒนากระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้ง ใส่ใจความปลอดภัยและคุณภาพในทุกขั้นตอน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับนวัตกรรม รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดต้นทุนและยกระดับคุณภาพของสินค้า เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคได้อย่างสูงสุด โดยบริษัทฯ มีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอาหารที่เข้มงวด และได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากลที่หลากหลาย เช่น BRCGS Global Standard for Food Safety, IFS (International Featured Standards), HACCP, HALAL และ GHP นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตรวจสอบและติดตาม กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ทุกรายการสอดคล้องกับมาตรฐานในทุกประเทศที่จำหน่าย

อ่านเพิ่มเติม
สรุปผลการดำเนินงาน
การรับรองมาตรฐาน ผลการดำเนินงานปี 2566 เป้าหมายปี 2566
BRCGS Global Standard for Food Safety Grade A Grade A
IFS (International Featured Standards) ระดับ Higher Level ระดับ Higher Level
GHP (Good Hygiene Practices) ผ่านการประเมิน ผ่านการประเมิน
BRCGS Global Standard for Food Safety ผ่านการประเมิน ผ่านการประเมิน
HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) ผ่านการประเมิน ผ่านการประเมิน

ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการคุ้มครอง ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน ผ่านความร่วมกับคู่ค้าทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ความรับผิดชอบต่อสังคม สิทธิมนุษยชน และจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งประเด็นเหล่านี้จะนำมาผนวกเข้ากับการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG กระบวนการคัดกรองคู่ค้า และการพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า บริษัทฯ ยังได้กำหนด “จรรยาบรรณสำหรับคู่ค้าธุรกิจ" เพื่อให้คู่ค้าทุกราย ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ยุติธรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวไปพร้อมกับบริษัทฯ

บริษัทฯ ยังได้นำ ITIL (Information Technology Infrastructure Library) และ ITGC (Information Technology General Controls)มาประยุกต์ใช้ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยให้การดำเนินงานเป็นระบบ ตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และรักษาความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลได้อย่างต่อเนื่อง

อ่านเพิ่มเติม
สรุปผลการดำเนินงาน

พนักงานที่มีความเสี่ยงสูงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องได้รับการฝึกอบรม

เป้าหมายปี 2566
%
ผลการดำเนินงานปี 2566
%

จำนวนข้อร้องเรียนจากบุคคลภายนอกด้านความปลอดภัยข้อมูล

เป้าหมายปี 2566
กรณี
ผลการดำเนินงานปี 2566
กรณี

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านภาษี

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบริหารจัดการภาษีที่ดี มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งความ น่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากทุกภาคส่วนตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีบริษัทฯจึงได้ยึดถือแนวทางการปฏิบัติด้านภาษี ด้วยความสุจริตและมีความรับผิดชอบ ด้วยการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายภาษีในประเทศต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้เข้าไปดำเนินธุรกิจ ตลอดจนมีแนวทางในการวางแผนและปฏิบัติงานด้านภาษีสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันของธุรกิจที่ดำเนินการทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ ด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

โดยนโยบายด้านภาษีของบริษัทฯ ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้

การปฏิบัติบัติตาม กฎระเบียบภาษีอากร
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ความโปร่งใสด้านภาษี

เอกสารที่เกี่ยวข้อง