นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จํากัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสําคัญในการรักษาความลับของข้อมูล ส่วนบุคคล ซึ่งรวมถึงข้อมูลของลูกค้า พนักงาน ผู้จัดหาสินค้า/บริการ หุ้นส่วนทางธุรกิจ และข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ หรือเผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในศาสนา พฤติกรรมทาง เพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลพันธุกรรม ชีวภาพ บริษัทจึงได้กําหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การจัดประเภทข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครอง การใช้และการปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงข้อกําหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม กฎหมาย โดยนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทแล้ว

1. วัตถุประสงค์

บริษัทกําหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ให้ครอบคลุมต่อผลกระทบที่เกิดจากพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการนํา ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่มีส่วนได้เสียกับบริษัทซึ่งรวมถึงข้อมูลของลูกค้า พนักงาน ผู้จัดหาสินค้า/บริการ หุ้นส่วนทางธุรกิจ ไปใช้งานโดยมิชอบ หรือไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ

2. ประเภทข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครอง

  1. 2.1 ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลใดๆ ซึ่งทําให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่ง รวมถึงข้อมูลของลูกค้า พนักงาน ผู้จัดหาสินค้า/บริการ หุ้นส่วนทางธุรกิจ ดังนี้
    1. 2.1.1 ชื่อ - นามสกุล
    2. 2.1.2 อายุ
    3. 2.1.3 หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน
    4. 2.1.4 หมายเลขโทรศัพท์
    5. 2.1.5 ที่อยู่
    6. 2.1.6 อีเมล
    7. 2.1.7 รูปถ่าย
    8. 2.1.8 ประวัติการทํางาน
  2. 2.2ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ดังนี้
    1. 2.2.1เชื้อชาติ
    2. 2.2.2ชาติพันธุ์
    3. 2.2.3ความคิดเห็นทางการเมือง เช่น ข้อมูลที่ปรากฏใน social media ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเมือง
    4. 2.2.4ความเชื่อทางศาสนา หรือ ปรัชญา เช่น บันทึกการลาบวช ของพนักงาน
    5. 2.2.5พฤติกรรมทางเพศ
    6. 2.2.6ประวัติอาชญากรรม
    7. 2.2.7ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ
    8. 2.2.8ข้อมูลสหภาพแรงงาน
    9. 2.2.9ข้อมูลพันธุกรรม
    10. 2.2.10ข้อมูลชีวภาพ
    11. 2.2.11ข้อมูลสุขภาพ เช่น ใบรับรองแพทย์
    12. 2.2.12ข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทํานองเดียวกันตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะประกาศกําหนด

3. การกําหนดสิทธิให้แก่เจ้าของข้อมูล

  1. 3.1 สิทธิที่จะได้รับแจ้ง
  2. 3.2 สิทธิในการแก้ไข
  3. 3.3 สิทธิในการได้รับและโอนถ่ายข้อมูล
  4. 3.4 สิทธิในการเข้าถึง
  5. 3.5 สิทธิคัดค้าน
  6. 3.6 สิทธิในการลบ (ถูกลืม)
  7. 3.7 สิทธิในการจํากัด
  8. 3.8 สิทธิในการเพิกถอนคํายินยอม

4. ข้อกําหนดสําคัญในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

  1. 4.1 สาระสําคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    1. 4.1.1 การเก็บรวมรวม การใช้ การเปิดเผย และ/หรือ การโอนข้อมูลส่วนบุคคล ต้องได้รับความยินยอม ยกเว้นมีเหตุอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
    2. 4.1.2 ความยินยอม (หากจําเป็น) จะต้องให้โดยอิสระ เฉพาะเจาะจง และ ชัดแจ้ง และเจ้าของข้อมูล สามารถ ถอนความยินยอมได้
    3. 4.1.3 จะต้องมีการแจ้งข้อมูลบางประการในขณะเก็บรวมรวมข้อมูลส่วนบุคคล เช่น วัตถุประสงค์ ในการ เก็บรวบรวมข้อมูล ความเป็นไปได้ในการเปิดเผย/โอนข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
  2. 4.2 การใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
    1. 4.2.1 การใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ความยินยอมไว้
    2. 4.2.2 การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
  3. 4.3 ข้อกําหนดอื่น ๆ
    1. 4.3.1 ดําเนินการให้เป็นไปตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ. 2562 รวมถึงสิทธิในการขอโอนข้อมูล และสิทธิในการลบข้อมูล
    2. 4.3.2 จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสม
    3. 4.3.3 จัดให้มีเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีเป็นหน่วยงานที่มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจํานวนมาก หรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว
    4. 4.3.4 การเก็บข้อมูลจะต้องถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
    5. 4.3.5 จัดทําและเก็บรักษาบันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ
    6. 4.3.6 แจ้งเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุ และแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ ในกรณีที่การละเมิด มีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบ ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
    7. 4.3.7 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องดําเนินการให้ผู้รับจ้างช่วง/ผู้ประมวลผลข้อมูลปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

5. การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

  1. 5.1 ตรวจสอบพื้นฐานทางกฎหมายที่ใช้ในกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 5.2 การเก็บข้อมูล ต้องเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลเท่านั้น ห้ามเก็บจากแหล่งอื่น ต้องแจ้งสิทธิ รายละเอียด และวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล ให้เจ้าของข้อมูลรับทราบเสมอ และต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เสมอ การเก็บข้อมูลต้องเก็บเท่าที่จําเป็น ชอบด้วยกฎหมาย และ ต้องลบเมื่อพ้นระยะเวลาที่จําเป็นหรือที่ได้ แจ้งไว้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าความยินยอมและนโยบายความเป็นส่วนตัวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
    1. 5.2.1 การขอความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ
      1. 5.2.1.1 ทําผ่านกระดาษ หรือ ระบบออนไลน์ก็ได้
      2. 5.2.1.2 อ่านง่าย เข้าใจง่าย
      3. 5.2.1.3 ไม่หลอกลวงให้เข้าใจผิด
      4. 5.2.1.4 แยกชัดเจนจากเงื่อนไขอื่นๆ และไม่เอาเงื่อนไขอื่นมาผูกพันธ์
    2. 5.2.2 การถอนความยินยอม (Consent) นั้น จะต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถ
      1. 5.2.2.1 ทําเมื่อไหร่ก็ได้
      2. 5.2.2.2 ทําได้ง่ายเช่นเดียวกับการให้ความยินยอม
      3. 5.2.2.3 แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงผลกระทบ
  3. 5.3 การใช้และเปิดเผยข้อมูล ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเสมอ และจะต้องใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ แจ้งไว้เท่านั้น
  4. 5.4 การเข้าถึงและแก้ไข ต้องมีช่องทางให้เจ้าของข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลของตัวเอง และแก้ไขได้ เช่น เว็บ CRM 50 Call Center
  5. 5.5 การโอนข้อมูลไปต่างประเทศ ปลายทางจะต้องมีมาตรฐานการคุ้มครองที่เพียงพอ เช่น การนําข้อมูลขึ้น Cloud หรือ Server อยู่ที่ต่างประเทศ
  6. 5.6 มีมาตรการการรักษาความปลอดภัย ต้องจัดให้มีระบบป้องกันข้อมูลที่ได้มาตรฐาน และหากพบว่ามีการรั่ว ของข้อมูล จะต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลภายใน 72 ชม. จากที่ทราบเหตุ
  7. 5.7 ตรวจสอบสัญญาที่ทําขึ้นระหว่างบริษัทกับบุคคลภายนอก มีข้อกําหนดเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ รัดกุม และ เหมาะสม
  8. 5.8 จัดให้มีนโยบายการจัดการข้อมูลและการฝึกอบรมที่เหมาะสม
  9. 5.9 มีการตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง และปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่อย่างสม่ําเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยง ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ
  10. 5.10 ปรับปรุง เพิ่มคุณสมบัติ อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับการเก็บและใช้งานข้อมูล ให้มีความปลอดภัยมาก ขึ้น กําหนดขั้นตอนการลบข้อมูลที่ไม่จําเป็นในช่วงเวลาที่เหมาะสม
  11. 5.11 ต้องมีการเก็บข้อมูล Cookie บนเบราว์เซอร์ที่ใช้งาน ซึ่งตัว Cookie นี้เปรียบเสมือนไฟล์ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ใช้ โดยถ้าเว็บเหล่านั้นมีการติดตั้งเครื่องมือ Tracking หรือ Analytics เช่น Google Analytics, Facebook Pixel หรืออื่นๆ ก็จะมีการเก็บ Cookie เพื่อนําใช้งานตามจุดประสงค์ของแต่ละเครื่องมือ
  12. 5.12 กําหนดการยอมรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ หรือ Cookie Consent ที่เป็นการขอความยินยอมจาก ผู้ใช้ ว่าจะมีการเก็บ Cookie เพื่อนําไปใช้งาน โดยจะมีการแจ้งจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะนําไปใช้เพื่ออะไร โดย สามารถให้ผู้ใช้สามารถยินยอม และถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ (โดยสามารถทําได้ง่าย เหมือนตอนยินยอม) และแจ้งให้ผู้ใช้งานทราบถึงผลกระทบด้วยเช่นกัน
  13. 5.13 บูรณาการฝ่ายกฎหมายและฝ่ายสารสนเทศของบริษัท เพื่อทําให้การจัดการเป็นไปได้อย่างรัดกุมและรวดเร็วที่สุด

6. บทบาทและหน้าที่

  1. 6.1 ส่วนกลาง
    1. 6.1.1 ผู้ควบคุมข้อมูล มีอํานาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูล
    2. 6.1.2 ผู้ประมวลผล มีบทบาท ดําเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลตามคําสั่ง หรือ ในนามของผู้ ควบคุม (ต้องเป็นคนละคนกับผู้ควบคุม)
    3. 6.1.3 เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO) ในกรณีที่มีการเก็บข้อมูลจํานวนมาก ทั้งนี้คณะกรรมการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจถูกแต่งตั้งจากฝ่ายงานหลายๆ ฝ่ายมารวมกันทําหน้าที่หลักๆ คือ การให้ คําแนะนํา ตรวจสอบ ประสานงาน ให้บริษัททําหน้าที่ตามกฎหมายได้
  2. 6.2 ฝ่ายงานย่อย
    1. 6.2.1 ฝ่ายกฎหมาย มีหน้าที่เกี่ยวข้องในหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะการเขียนสัญญา ข้อตกลง และ นโยบายต่าง ๆ เพื่อที่จะรับรองความถูกต้อง
    2. 6.2.2 ฝ่ายสารสนเทศจัดให้มี
      1. 6.2.2.1 มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม ตามมาตรฐานขั้นต่ําที่คณะกรรมการกําหนด
      2. 6.2.2.2 ป้องกันการเปิดเผยโดยปราศจากอํานาจ หรือ โดยมิชอบ และลบเมื่อถึงเวลา หรือ เกินความจําเป็น
      3. 6.2.2.3 กําหนดการยอมรับการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ หรือ ระบบสมาชิก ให้ตรงตามที่พรบ. กําหนด
    3. 6.2.3 ฝ่ายการตลาด คือ ผู้ใช้และเก็บข้อมูลมากที่สุด ต้องทําการประเมินความเสี่ยงและกําหนดระดับ ความสําคัญของข้อมูลที่ต้องได้รับการคุ้มครอง
    4. 6.2.4 ฝ่ายขาย รับผิดชอบในส่วนของการเก็บข้อมูลของทั้งลูกค้าและข้อมูลติดต่อของผู้ที่แสดงความสนใจ ในสินค้า มีความจําเป็นต้องขออนุญาตการใช้ข้อมูลจากลูกค้าที่เกี่ยวข้อง
    5. 6.2.5 ฝ่ายบุคคล มีความรับผิดชอบในส่วนของข้อมูลของพนักงาน รวมถึงใบสมัครและเอกสารแนะนําตัว Resume จากผู้สมัคร การเก็บข้อมูลรูปหรือบัตรประชาชนก่อนเข้าอาคาร การติดตั้งกล้องถ่ายภาพถ่าย วีดีโอทั้งคนในและคนนอก

สำหรับการใช้งานกล้องวงจรปิด (CCTV)

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ได้จัดให้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ทั้งภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัทเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของสถานที่ ทรัพย์สิน ของบริษัท รวมทั้งการรักษาความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและสุขภาพของบุคคลใด ๆ ก็ตามที่อยู่ภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท บริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยการใช้กล้องวงจรปิด เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับการใช้งานกล้องวงจรปิด (CCTV)

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

ในการเก็บรวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลบริษัท จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัดถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและคุณลักษณะบุคคล
  • ใบหน้า
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงของทรัพย์สินของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ ยานพาหนะ

อย่างไรก็ดี บริษัทจะไม่ติดตั้งกล้องวงจรปิดในพื้นที่ที่อาจล่วงละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินสมควร ได้แก่ ห้องน้ำ สถานที่เพื่อใช้ในการพักผ่อนของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

3. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
2 การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินการที่จำเป็นในกระบวนการทางกฎหมาย
3 ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest) เป็นการดำเนินงานเพื่อปกป้องประโยชน์สำคัญของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การปกป้องอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของอาคาร สิ่งอำนวยความสะดวก และทรัพย์สินภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
2 เพื่อการรักษาความปลอดภัยและปกป้องอันตรายในชีวิต ร่างกายและสุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลรวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
3 เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการยับยั้ง ป้องกัน สืบค้น และดำเนินคดีตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
4 เพื่อการให้ความช่วยเหลือในกระบวนการระงับข้อพิพาทซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างที่มีกระบวนการทางวินัยหรือกระบวนการร้องทุกข์ การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
5 เพื่อการให้ความช่วยเหลือในกระบวนการสอบสวน หรือกระบวนการเกี่ยวกับการส่งเรื่องร้องเรียน รวมไปถึงกระบวนการริเริ่มหรือป้องกันการฟ้องร้องทางศาล เช่น การใช้สิทธิเรียกร้องทางคดีแรงงาน การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)

4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 4.1 โดยทั่วไป บริษัทจะเก็บรักษาข้อมูลในกล้องวงจรปิดเป็นความลับและจะไม่ดำเนินการส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลเหล่านั้น เว้นแต่ กรณีที่บริษัทมีความจำเป็นเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ระบุในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลในกล้องวงจรปิดแก่บุคคลหรือนิติบุคคล ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัท บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

ผู้ให้บริการ บริษัทอาจว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เป็นผู้ให้บริการแทนหรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ของผู้ให้บริการนั้นด้วย เช่น ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยของบริษัท รวมไปถึงผู้ให้บริการด้านกล้องวงจรปิด เพื่อวัตถุประสงค์ในการซ่อมและปรับปรุงระบบเฉพาะในกรณีที่บริษัทอนุญาตแล้วเท่านั้น

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ให้แก่หน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจอัยการ

  1. 4.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ

5. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศ

  1. 5.1 โดยทั่วไปแล้วบริษัทไม่มีความประสงค์ที่จะส่งต่อหรือโอนข้อมูลในกล้องวงจรไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากบริษัทมีความจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะดำเนินการขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ
  2. 5.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 5.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

6. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 6.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยปกติบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากกล้องวงจรปิดเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว
  2. 6.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. 6.3 บริษัท ได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

7. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 7.1 บริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 7.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย อาทิ การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 7.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

8. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 8.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing)
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
    • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
    • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
  • ทั้งนี้ หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปเฉพาะในกรณีที่
    • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือ
    • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการ ประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 8.2 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจใช้สิทธิข้างต้นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 10. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 8.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

9. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ และขอให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

10. ช่องทางการติดต่อ

หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

11. กฎหมายที่ใช้บังคับ

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับลูกค้าของบริษัท

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและบุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นตัวแทนของลูกค้าที่กระทำการแทนหรือในนาม เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผู้รับมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจช่วง พนักงาน ลูกจ้าง และตัวแทนของนิติบุคคล (“ท่าน”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับลูกค้าของบริษัท
ลูกค้า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เป็นเป้าหมายของบริษัทในการดำเนินงานขายสินค้าหรือบริการของบริษัท ไม่ว่าจะมีการดำเนินการชำระค่าสินค้าหรือบริการแล้วหรืออาจมีการดำเนินการเช่นว่านั้นในอนาคตก็ตาม รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ติดต่อขอรับบริการจากบริษัท ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ ผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของบริษัท เป็นต้น

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

ในการเก็บรวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลบริษัท จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัดถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและคุณลักษณะบุคคล คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด เพศ สัญชาติ เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี รูปภาพ ลายมือชื่อ
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ที่อยู่ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ทำงาน Line ID
ที่อยู่ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ทำงาน Line ID แผนก ตำแหน่งงาน
ข้อมูลทางการเงิน เงินเดือน หมายเลขบัญชีธนาคาร
ข้อมูลที่ใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรมต่าง ๆ นามบัตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ข้อมูลทางเทคนิค IP Address, MAC Address
ข้อมูลอื่นๆ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของบริษัท
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยกล้องวงจรปิด (CCTV)

โดยทั่วไปแล้ว บริษัทไม่มีความประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลศาสนาและหมู่โลหิตที่ปรากฏอยู่บนหน้าบัตรประจำตัวประชาชนของท่าน หากท่านมอบสำเนาบัตรประชาชนให้แก่บริษัทซึ่งปรากฎข้อมูลดังกล่าว บริษัทขอให้ท่านปกปิดข้อมูลดังกล่าวก่อนส่งมอบให้กับบริษัท หากท่านมิได้ปกปิดข้อมูลข้างต้น ถือว่าท่านยินยอมให้บริษัทดำเนินการปกปิดข้อมูลเหล่านั้น

3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากท่านโดยตรง
  • ข้อมูลที่ปรากฏในสัญญาทางธุรกิจใด ๆ
  • ข้อมูลที่ปรากฏในเอกสารอื่นๆ เช่น ใบเสนอราคา นามบัตร
  • การกรอกข้อมูลในเอกสารหรือแบบฟอร์มทางออนไลน์
  • ข้อมูลการโต้ตอบและสื่อสารกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือวิธีใด ๆ เช่น โทรศัพท์ วิดิโอคอล อีเมล SMS ไปรษณีย์
  • ข้อมูลที่ใช้สมัครลงทะเบียนสร้างบัญชีการใช้งาน (Account) หรือ โปรไฟล์ (Profile) กับบริษัท เพื่อใช้ติดต่อกับบริษัททั้งทางช่องทางออฟไลน์และช่องทางออนไลน์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยอัตโนมัติ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่บันทึกผ่านกล้องวงจรปิดในบริเวณบริษัท
  • ข้อมูลทางเทคนิคจากการเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากแหล่งอื่นหรือบุคคลที่สาม
  • แผนกอื่นภายในบริษัท
  • บริษัทต้นสังกัดหรือสถานที่ทำงานของท่าน
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกระทำการแทน เช่น ผู้รับมอบอำนาจ พนักงาน ลูกจ้าง และตัวแทน
  • ข้อมูลจากผู้ให้บริการของบริษัท

ในกรณีที่ท่านตกลงและยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ท่านรับรองและรับประกันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น และท่านรับรองและรับประกันว่าท่านได้แจ้งให้บุคคลเหล่านั้นทราบอย่างครบถ้วนแล้วเกี่ยวกับนโยบายฉบับนี้

4. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท รวมทั้งเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา
2 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
3 การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท
4 ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest) เป็นการดำเนินงานเพื่อปกป้องประโยชน์สำคัญของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การปกป้องอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5 ความยินยอม (Consent) ในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ซึ่งไม่สามารถอาศัยฐานทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ข้างต้นได้ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งเป็นการเฉพาะจากท่าน
ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อการติดต่อสื่อสารและดำเนินการต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการภายในก่อนการเข้าทำท่าน เช่น การจัดทำใบเสนอราคา การขึ้นทะเบียนลูกค้า
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
2 เพื่อการปฏิบัติตามสัญญา การดำเนินการตามคำสั่งซื้อรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อดำเนินการเช่นว่านั้น การประสานงานกับท่าน การเรียกเก็บค่าสินค้าและบริการ การบริการหลังการขาย
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
3 เพื่อการดำเนินการอันเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท การดำเนินการตามสัญญาระหว่างบริษัทและท่าน การติดต่อดำเนินการกับหน่วยงานภายนอกอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์แห่งสัญญา
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
4 เพื่อทำการตลาด ติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับกิจกรรมทางการตลาดที่วิเคราะห์แล้วเห็นว่าตรงกับความต้องการของท่าน การนำเสนอข้อมูลทางการตลาด ข้อมูลสินค้าและบริการ รวมทั้งการจัดการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า การจัดโครงการส่งเสริมการขาย ความยินยอม (Consent)
5 เพื่อเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของท่านและสำรวจความพึงพอใจ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการบริหารความสัมพันธ์ เพื่อปรับปรุงการให้บริการและออกแบบกิจกรรมทางการตลาดให้สอดคล้องกับท่านมากยิ่งขึ้น ความยินยอม (Consent)
6 เพื่อเก็บข้อมูลการติดต่อสื่อสารในระบบฐานข้อมูลเพื่อการติดต่อและสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคต รวมทั้งเพื่อใช้ข้อมูลในการติดต่อประสานงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
7 เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท เช่น การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย การออกใบกำกับภาษี การเปิดเผยข้อมูลทางบัญชีให้ผู้ตรวจสอบบัญชี การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
8 เพื่อการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การสำรองข้อมูล การบันทึกข้อมูลการเข้าใช้งาน ข้อมูลการจราจรบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
9 เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิต ร่างกาย สุขภาพและทรัพย์สินของท่านภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท เช่น การสอดส่องดูแลด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
10 เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย การปฏิบัติหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือการยกขึ้นสู้ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการดำเนินคดี การบังคับคดี หรือการดำเนินการใด ๆ ตามกระบวนการทางกฎหมาย ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
11 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ใช้บังคับ และเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
12 เพื่อบริหารความเสี่ยง การเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และรายงานเกี่ยวกับอาชญากรรมทางการเงิน การทุจริต การประพฤติโดยมิชอบ และอาชญากรรมอื่นๆ ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 5.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลภายในและภายนอกบริษัท ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัทและบริษัทในเครือ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน รวมทั้งบริษัทในเครือ อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

พันธมิตรทางธุรกิจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจในเชิงการบริหารจัดการในเชิงการปฏิบัติงานของบริษัท ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ ขององค์กรนั้นด้วย เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย เป็นต้น

ผู้ให้บริการ บริษัทอาจว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เป็นผู้ให้บริการแทนหรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ของผู้ให้บริการนั้นด้วย เช่น ผู้ให้บริการจัดการเว็บไซต์และสื่อสารสนเทศ ผู้ให้บริการด้านขนส่ง ผู้ให้บริการด้านการประชาสัมพันธ์

ที่ปรึกษาวิชาชีพ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบการบริหารงานของบริษัท ที่ปรึกษาในด้านต่าง ๆ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญอื่นใดทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ

สื่อสาธารณะ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์บนสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบสารสนเทศหรือไม่ก็ตาม ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดียหรือช่องทางการสื่อสารของบริษัท หรือเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง

  1. 5.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากท่าน บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากท่านเป็นการเฉพาะ

6. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ

  1. 6.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านสำหรับการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศเป็นการเฉพาะ
  2. 6.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 6.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของของท่าน ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

7. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 7.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับท่านและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยปกติบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกค้ายุติความสัมพันธ์
  2. 7.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. 7.3 บริษัท ได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

8. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม

บริษัทมีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม หากท่านไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัท ดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป ท่านสามารถขอถอนความยินยอมของท่านเมื่อใดก็ได้ โดยเงื่อนไขของการถอนความยินยอมเป็นไปตามข้อ 10.2

9. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 9.1 Tบริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 9.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 9.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 10.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการเพิกถอน ความยินยอม (Right to withdraw consent)
  • หากท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบริษัทท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับบริษัท เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
  • ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์บางประการของท่าน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่าน บริษัทแนะนำให้ท่านศึกษาและสอบถามถึงผลกระทบของการเพิกถอนความยินยอม
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing)
  • ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
    • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
    • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
    • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
  • ทั้งนี้ หากท่านยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อไปเฉพาะในกรณีที่
    • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของท่าน หรือ
    • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ในกรณีต่อไปนี้
  • ท่านเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ท่านเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อท่านได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่ท่านร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของท่าน
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) ท่านมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) ท่านมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 10.2 ท่านอาจใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 14. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 10.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของท่านอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของท่านได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

11. การถอนความยินยอมและผลกระทบที่เป็นไปได้จากการถอนความยินยอม

  1. 11.1 ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยความยินยอม ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับบริษัทได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ การถอนความยินยอมนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
  2. 11.2 หากท่านถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทหรือไม่ยินยอมที่จะให้ข้อมูลกับบริษัท ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ได้

12. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. 12.1 หากท่านเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องการให้ความยินยอมกับ บริษัทในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับบริษัท
  2. 12.2 ในกรณีที่บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่บริษัทไม่ทราบในขณะประมวลผลถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมาบริษัทได้ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้นในภายหลังว่าบริษัทได้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมข้างต้น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยทันที เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นและไม่ต้องขอความยินยอม

13. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้ท่านทราบ และขอให้ท่านตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

14. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

15. กฎหมายที่ใช้บังคับ

ท่านตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับพนักงาน นักศึกษาฝึกงานและผู้สมัครงาน

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน นักศึกษาฝึกงาน และผู้สมัครงาน (“ท่าน”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับพนักงาน นักศึกษาฝึกงานและผู้สมัครงาน
ผู้สมัครงาน บุคคลที่มีสัญชาติไทยหรือชาวต่างชาติที่ยื่นสมัครงานเพื่อเป็นพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว หรือนักศึกษาฝึกงาน ที่ทำงานให้แก่บริษัท แล้วแต่กรณี ไม่ว่าการสมัครงานนั้นจะดำเนินการโดยผู้สมัครเอง หรือเป็นการรับสมัครงานภายในบริษัทหรือผ่านการแนะนำของบุคคลอื่นใดหรือผ่านการดำเนินการของผู้ให้บริการจัดหางาน
พนักงาน ผู้สมัครงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำสัญญาเพื่อทำงานให้แก่บริษัท ในฐานะพนักงานประจำ พนักงานชั่วคราว (Temporary) หรือพนักงานในช่วงทดลองงาน (Probation) หรือนักศึกษาฝึกงาน และได้รับค่าจ้างคำนวณในอัตรารายเดือน รายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย หรือคำนวณเป็นอย่างอื่น หรือที่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่นระหว่างบริษัทและพนักงานดังกล่าว

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

ในการเก็บรวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลบริษัท จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัดถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและคุณลักษณะบุคคล ชื่อ นามสกุล เพศ สัญชาติ วันเดือนปีเกิด อายุ เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวคนต่างด้าว เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ลายมือชื่อ รูปถ่าย สถานภาพสมรส ชื่อ-นามสกุลของบิดามารดา
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ชื่อบริษัท
ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและการทำงาน ประวัติการศึกษา ระดับการศึกษา วุฒิการศึกษา ประวัติการฝึกอบรม รหัสพนักงาน ตำแหน่งงาน แผนก อายุงาน วันที่และเวลาเข้า-ออกงาน วันที่เริ่มงาน คะแนนผลการทำงาน สถิติการมาทำงาน สาเหตุการลาออก
ข้อมูลทางการเงิน อัตราค่าจ้าง เงินเดือน หมายเลขบัญชีธนาคาร
ข้อมูลที่ใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรมต่าง ๆ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัญชีธนาคาร เลขทะเบียนรถยนต์ สำเนาหนังสือเดินทาง เอกสารวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) บัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู) ใบเสร็จการแจ้งเข้าทำงานของคนต่างด้าว สำเนาบัตรประจำคนผู้พิการ
ข้อมูลทางเทคนิค IP Address Mac Address
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ส่วนสูง น้ำหนัก ข้อมูลบาดแผล ข้อมูลโรค ข้อมูลทางการแพทย์ ใบรับรองแพทย์ ผลการตรวจสุขภาพ โรคประจำตัว ข้อมูลความพิการ ประวัติอาชญากรรม พฤติกรรมทางเพศ ลายนิ้วมือ
ข้อมูลอื่นๆ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของบริษัท
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยกล้องวงจรปิด (CCTV)

โดยทั่วไปแล้ว บริษัทไม่มีความประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลศาสนาและหมู่โลหิตที่ปรากฏอยู่บนหน้าบัตรประจำตัวประชาชนของท่าน หากท่านมอบสำเนาบัตรประชาชนให้แก่บริษัทซึ่งปรากฎข้อมูลดังกล่าว บริษัทขอให้ท่านปกปิดข้อมูลดังกล่าวก่อนส่งมอบให้กับบริษัท หากท่านมิได้ปกปิดข้อมูลข้างต้น ถือว่าท่านยินยอมให้บริษัทดำเนินการปกปิดข้อมูลเหล่านั้น

3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากท่านโดยตรง
  • ข้อมูลที่ปรากฏในกระบวนการสรรหาและรับสมัครงาน
  • ข้อมูลที่ปรากฏในสัญญาและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เอกสารทางราชการต่างๆ
  • การกรอกข้อมูลในเอกสารหรือแบบฟอร์มทางออนไลน์
  • ข้อมูลและการปรับปรุงข้อมูลของท่านจากการจ้างงานหรือกระบวนการต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ท่านเป็นพนักงาน
  • ข้อมูลการโต้ตอบและสื่อสารกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือวิธีใด ๆ เช่น โทรศัพท์ วิดิโอคอล อีเมล SMS ไปรษณีย์ เป็นต้น
  • ข้อมูลที่ใช้สมัครลงทะเบียนสร้างบัญชีการใช้งาน (Account) หรือ โปรไฟล์ (Profile) กับบริษัท เพื่อใช้ติดต่อกับบริษัททั้งทางช่องทางออฟไลน์และช่องทางออนไลน์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยอัตโนมัติ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่บันทึกผ่านกล้องวงจรปิดในบริเวณบริษัท
  • ข้อมูลทางเทคนิคจากการเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากแหล่งอื่นหรือบุคคลที่สาม
  • แผนกอื่นภายในบริษัท
  • บริษัทต้นสังกัดหรือสถานที่ทำงานของท่าน
  • ตัวแทนจัดหางาน
  • แหล่งข้อมูลจากหน่วยงานผู้มีอำนาจทางกฎหมาย
  • สถานพยาบาล

ในกรณีที่ท่านตกลงและยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายให้บุคคลเหล่านั้นทราบอย่างครบถ้วน รวมทั้งขอความยินยอมจากบุคคลภายนอก และท่านมีหน้าที่รับรองและรับประกันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น

4. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท รวมทั้งเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา
2 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
3 การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท
4 ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest) เป็นการดำเนินงานเพื่อปกป้องประโยชน์สำคัญของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การปกป้องอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5 ความยินยอม (Consent) ในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวซึ่งไม่สามารถอาศัยฐานทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ข้างต้น บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมเป็นการเฉพาะจากท่าน

กรณีที่ท่านเป็นผู้สมัครงาน บริษัทจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดยอาศัยฐานทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อดำเนินการที่จำเป็นในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครงาน ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่บริษัทต้องการ เพื่อรับเข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทโดยหมายรวมถึง การรับสมัครงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ การประเมิน ตลอดจนการเสนอการจ้างงานให้แก่ท่าน การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
2 เพื่อตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติก่อนการจ้างงาน รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลที่จำเป็น เพื่อประกอบการพิจารณารับเข้าทำงานกับบริษัท และการทำสัญญาจ้างงาน การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
3 เพื่อการบริหารจัดการภายในของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสรรหาบุคคลเข้าทำงาน เช่น การส่งข้อมูลของท่านหรือรายงานให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจคัดเลือก กระบวนการภายในเพื่อทำสัญญาจ้าง รวมถึงกระบวนการอื่นที่จำเป็นต้องจัดเตรียมสำหรับพนักงานใหม่ การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
4 เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิต ร่างกาย สุขภาพและทรัพย์สินของท่านภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท เช่น การสอดส่องดูแลด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)

กรณีที่ท่านเป็นพนักงาน บริษัทจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดยอาศัยฐานทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อดำเนินการเข้าทำสัญญาจ้างแรงงานตามคำขอของท่าน หรือเพื่อปฏิบัติตามสัญญาโดยที่ท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท เช่น การจัดทำสัญญา ข้อตกลงการจ้างงาน การปฏิบัติตามกฎของบริษัท จัดฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกบริษัท ประเมินผลการทำงาน การพิจารณาค่าตอบแทนและสวัสดิการ เป็นต้น
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
2 เพื่อขึ้นทะเบียนพนักงาน การจัดเตรียมบัตรพนักงาน การจัดทำประวัติพนักงาน รวมไปทั้งการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การสร้าง username และ password และสร้างอีเมล และการเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานของท่าน
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
3 เพื่อจัดทำหรือต่ออายุวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน การขอต่อใบอนุญาตที่เกี่ยวกับการทำงานของท่าน การขอทำบัตรสีชมพู การเก็บข้อมูลใบอนุญาต การดำเนินการทำเล่มเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) และเอกสารเกี่ยวกับการทำงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
4 เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลโรค ผลการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการทำงาน
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ความยินยอม (Consent)
5 เพื่อตรวจสอบประวัติอาชญากรรม เพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน (เฉพาะบางตำแหน่ง) ความยินยอม (Consent)
6 เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความพิการ การคุ้มครองแรงงานสำหรับผู้พิการ การประเมินผลการทำงานผู้พิการและยื่นผลการประเมินการทำงาน การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
7 เพื่อเก็บข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ เพื่อบันทึกการเข้า-ออก พื้นที่เฉพาะของบริษัทและยืนยันตัวตน การรักษาความปลอดภัยภายในบริษัทและการป้องกันอาชญากรรม ความยินยอม (Consent)
8 เพื่อการบริหารจัดการด้านประกันสังคม เช่น การแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน การแจ้งสิ้นสุดประกันตน การบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมทั้งการบริหารจัดการด้านภาษีอากรของท่าน เช่น เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี อย่าง ใบเบิกเงินสดย่อย ใบกำกับภาษี และเอกสารเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
9 เพื่อการบริหารจัดการเรื่องเงินเดือน ค่าตอบแทน ค่าจ้าง โบนัส ค่าล่วงเวลา ค่าที่พัก ค่าเดินทาง รวมถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับท่าน รวมทั้งการพิจารณาเกี่ยวกับค่าตอบแทนที่เกี่ยวข้อง เช่น การลางาน การบันทึกโอที การตรวจสอบเวลาเข้า-ออกงาน โดยการลงบันทึกเวลาเข้า-ออกหรือข้อมูลการสแกนลายนิ้วมือ
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
  • ความยินยอม (Consent)
10 เพื่อจัดให้มีสวัสดิการที่เหมาะสมกับท่านเช่น ประกันสุขภาพ บัตรทางด่วน บัตรเติมน้ำมัน การจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง การรักษาพยาบาล การกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงสวัสดิการสำหรับพนักงานที่เป็นคนต่างด้าว เช่น การเปิดบัญชีธนาคารสำหรับคนต่างด้าว
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ความยินยอม (Consent)
11 เพื่อแต่งตั้งบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงาน เช่น เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร, เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน, คณะกรรมการด้านความปลอดภัย, หน่วยงานด้านความปลอดภัย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
12 เพื่อจัดกิจกรรมอบรม การสัมมนา การประชุม เพื่อพัฒนาบุคลากรของบริษัท รวมถึงการจัดกิจกรรมนอกสถานที่ เช่น กิจกรรมเพื่อสังคมของบริษัท (CSR) กิจกรรมสันทนาการ ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
13 การถ่ายภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่าง ๆ การถ่ายภาพพิธีการ การถ่ายภาพบรรยากาศ การถ่ายภาพกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกบริษัท รวมถึงการถ่ายภาพแบบเจาะจงบุคคล
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ความยินยอม (Consent)
14 เพื่อติดต่อหน่วยงานราชการ การมอบอำนาจ ดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน การนำข้อมูลเข้าระบบราชการ เช่น การยื่นรับรองระบบบริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
15 เพื่อประเมินผลการทำงานของพนักงานทดลองงานเพื่อบรรจุเป็นพนักงานประจำ ประเมินผลการทำงานของนักศึกษาฝึกงาน เพื่อพิจารณาปรับตำแหน่ง ผลตอบแทนและพิจารณาเรื่องสวัสดิการพิเศษอื่นๆ
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
16 เพื่อการรับรองความปลอดภัยในกระบวนการผลิต การบริหารจัดการด้านมาตรการป้องกันและบรรเทาอุบัติเหตุและอุบัติภัย การบริหารจัดการด้านอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินหรือเหตุอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของพนักงาน ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
17 เพื่อการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การสร้างบัญชีผู้ใช้งาน การสำรองข้อมูล การบันทึกข้อมูลการเข้าใช้งาน ข้อมูลการจราจรบนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
18 เพื่อป้องกันและระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่าน เช่น การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน การนำส่งโรงพยาบาล การบันทึกประวัติการเดินทาง การดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
19 เพื่อการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในองค์กร การบริหารจัดการภายในบริษัทและบริษัทในเครือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การตรวจสอบจากภายในและจากภายนอก รวมทั้งการประสานงานกับผู้ให้บริการด้านการกำกับตรวจสอบบริษัทและบริษัทในเครือ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
20 เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิต ร่างกาย สุขภาพและทรัพย์สินของท่านภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท เช่น การสอดส่องดูแลด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
21 เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย การปฏิบัติหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือการยกขึ้นสู้ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการดำเนินคดี การบังคับคดี หรือการดำเนินการใด ๆ ตามกระบวนการทางกฎหมาย ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
22 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ใช้บังคับ และเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 5.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลภายในและภายนอกบริษัท ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัทและบริษัทในเครือ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

พันธมิตรทางธุรกิจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจในเชิงการบริหารจัดการในเชิงการปฏิบัติงานของบริษัท ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ ขององค์กรนั้นด้วย เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย สถานพยาบาล เป็นต้น

ผู้ให้บริการ บริษัทอาจว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เป็นผู้ให้บริการแทนหรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ของผู้ให้บริการนั้นด้วย เช่น ผู้ให้บริการจัดการเว็บไซต์และสื่อสารสนเทศ ผู้ให้บริการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม

ที่ปรึกษาวิชาชีพ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบการบริหารงานของบริษัท ที่ปรึกษาในด้านต่าง ๆ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญอื่นใดทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น สำนักงานประกันสังคม กรมจัดหางาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมสรรพากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ

  1. 5.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากท่าน บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากท่านเป็นการเฉพาะ

6. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ

  1. 6.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านสำหรับการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศเป็นการเฉพาะ
  2. 6.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 6.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของของท่าน ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

7. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 7.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับท่านและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยปกติบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาดังรายละเอียดต่อไปนี้
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ระยะเวลาในการจัดเก็บ
ผู้สมัครงานที่ไม่ถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมทำงานกับ บริษัท ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เช่น บริษัทปฎิเสธไม่รับท่านเข้าทำงาน หรือท่านปฎิเสธที่จะเข้าทำงานกับบริษัท ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันสัมภาษณ์งาน
พนักงานที่เป็นนักศึกษาฝึกงาน ไม่เกิน 5 ปี นับแต่การฝึกงานได้สิ้นสุดลง
พนักงานที่ไม่ใช่นักศึกษาฝึกงาน และได้รับค่าจ้างในอัตรารายเดือน ตลอดระยะเวลาที่ท่านเป็นพนักงานของบริษัท และจะเก็บต่อไปอีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีนับแต่สิ้นสุดสภาพการเป็นพนักงาน
พนักงานที่ไม่ใช่นักศึกษาฝึกงาน และได้รับค่าจ้างในอัตรารายวัน ตลอดระยะเวลาที่ท่านเป็นพนักงานของบริษัท และจะเก็บต่อไปอีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับแต่สิ้นสุดสภาพการเป็นพนักงาน
  1. 7.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  2. 7.3 บริษัท ได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

8. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม

บริษัทมีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม หากท่านไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัท ดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป ท่านสามารถขอถอนความยินยอมของท่านเมื่อใดก็ได้ โดยเงื่อนไขของการถอนความยินยอมเป็นไปตามข้อ 10.2

9. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 9.1 บริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 9.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 9.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 10.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการเพิกถอน ความยินยอม (Right to withdraw consent)
  • หากท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบริษัทท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับบริษัท เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
  • ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์บางประการของท่าน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่าน บริษัทแนะนำให้ท่านศึกษาและสอบถามถึงผลกระทบของการเพิกถอนความยินยอม
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
  • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
  • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
ทั้งนี้ หากท่านยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อไปเฉพาะในกรณีที่
  • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของท่าน หรือ
  • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
  • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ในกรณีต่อไปนี้
  • ท่านเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ท่านเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อท่านได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการ ประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่ท่านร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของท่าน
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) ท่านมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) ท่านมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 10.2 ท่านอาจใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 14. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 10.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของท่านอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของท่านได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

11. การถอนความยินยอมและผลกระทบที่เป็นไปได้จากการถอนความยินยอม

  1. 11.1 ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยความยินยอม ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับบริษัทได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ การถอนความยินยอมนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
  2. 11.2 หากท่านถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทหรือไม่ยินยอมที่จะให้ข้อมูลกับบริษัท ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ได้

12. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. 12.1 หากท่านเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องการให้ความยินยอมกับ บริษัทในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับบริษัท
  2. 12.2 ในกรณีที่บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่บริษัทไม่ทราบในขณะประมวลผลถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมาบริษัทได้ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้นในภายหลังว่าบริษัทได้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมข้างต้น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยทันที เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นและไม่ต้องขอความยินยอม

13. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้ท่านทราบ และขอให้ท่านตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

14. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

15. กฎหมายที่ใช้บังคับ

ท่านตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับการบันทึกภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น กรรมการ พนักงาน ผู้ให้สัมภาษณ์/แสดงความคิดเห็น ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม ผู้ที่ได้รับรางวัล ผู้เข้ามาใช้พื้นที่ ผู้มาติดต่อ ผู้ขอเข้าอาคาร รวมไปถึง ลูกค้า คู่ค้า ผู้ที่คาดว่าเป็นคู่ค้า และตัวแทนของบุคคลดังกล่าว (“ท่าน”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับการบันทึกภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว

2. ประเภทและแหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 2.1 บริษัทมีความจำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวของท่านซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทประมวลผลอาจเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวในระหว่างการสัมภาษณ์ การถ่ายภาพบุคคลเฉพาะเจาะจงในขณะเข้าร่วมกิจกรรม (ภาพเดี่ยว) บรรยากาศระหว่างการจัดกิจกรรมหรือการถ่ายภาพรวม (ภาพหมู่) เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของบริษัท ซึ่งในการบันทึกข้อมูลอาจรวมถึงข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล ตำแหน่งของเจ้าของภาพ และข้อมูลกิจกรรม สถานที่ วันที่ เวลา ที่ปรากฏบนภาพ
  2. 2.2 ในกรณีที่เป็นการบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ และ/หรือเชิงประชาสัมพันธ์ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมเป็นการเฉพาะจากท่าน เมื่อบริษัทได้ทำการคัดเลือกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวนั้นไปเปิดเผย เผยแพร่ พร้อมทั้งขออนุญาตระบุชื่อ นามสกุล เพื่อประกอบกับภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ และ/หรือวัตถุประสงค์ในเชิงประชาสัมพันธ์ในเอกสารที่บริษัทได้ขอความยินยอมจากท่าน

3. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท รวมทั้งเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา
2 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
3 ความยินยอม (Consent) ในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ซึ่งไม่สามารถอาศัยฐานทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ข้างต้นได้ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งเป็นการเฉพาะจากท่าน
ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 การถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวที่ไม่ใช่ลักษณะการถ่ายภาพเจาะจง เฉพาะบุคคล และการถ่ายภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรม (ภาพหมู่) งานนิทรรศการ บรรยากาศระหว่างการจัดกิจกรรม การจัดอบรม การประชุม เพื่อวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร และเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดียหรือช่องทางการสื่อสารของบริษัท ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
2 การถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะเจาะจง หรือเป็นภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหวเฉพาะบุคคล หรือการใช้ชื่อ–นามสกุล และผลงาน เพื่อประกอบภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อนำไปใช้ในเชิงธุรกิจตามความเหมาะสมและตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ความยินยอม (Consent)
3 การประมวลผลตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ชื่อ–นามสกุล และผลงาน โดยได้รับสิ่งตอบแทน การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
4 การถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ในกรณีที่เป็นการบันทึกภาพถ่ายสำคัญ เนื่องจากเป็นผู้โชคดีในการรับรางวัล หรือเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลใด ๆ ในการจัดกิจกรรม การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
5 การถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการยืนยันตัวตน และใช้ตรวจสอบภายในบริษัท หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นซึ่งเป็นประโยชน์โดยชอบของบริษัท ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)

4. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 4.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลภายในและภายนอกบริษัท ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัท บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ

สื่อสาธารณะ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์บนสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบสารสนเทศหรือไม่ก็ตาม ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดียหรือช่องทางการสื่อสารของบริษัท หรือเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง

  1. 4.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากท่าน บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากท่านเป็นการเฉพาะ

5. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

  1. 5.1 โดยทั่วไปแล้วบริษัทไม่มีความประสงค์ที่จะส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากบริษัทมีความจำเป็นต้องส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะดำเนินการขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านเป็นการเฉพาะ
  2. 5.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 5.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของของท่าน ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

6. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 6.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับท่านและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยทั่วไปบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
  2. 6.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. 6.3 บริษัท ได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

7. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม

บริษัทมีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัท ได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม หากท่านไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัท ดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป ท่านสามารถขอถอนความยินยอมของท่านเมื่อใดก็ได้ โดยเงื่อนไขของการถอนความยินยอมเป็นไปตามข้อ 9.2

8. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 8.1 บริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 8.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 8.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

9. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 9.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการเพิกถอน ความยินยอม (Right to withdraw consent)
  • หากท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบริษัทท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับบริษัท เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
  • ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์บางประการของท่าน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่าน บริษัทแนะนำให้ท่านศึกษาและสอบถามถึงผลกระทบของการเพิกถอนความยินยอม
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
  • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
  • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
ทั้งนี้ หากท่านยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อไปเฉพาะในกรณีที่
  • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของท่าน หรือ
  • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
  • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ในกรณีต่อไปนี้
  • ท่านเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ท่านเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อท่านได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการ ประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่ท่านร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของท่าน
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) ท่านมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) t ท่านมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 9.2 ท่านอาจใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 13. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 9.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของท่านอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของท่านได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

10. การถอนความยินยอมและผลกระทบที่เป็นไปได้จากการถอนความยินยอม

  1. 10.1 ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยความยินยอม ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับบริษัทได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ การถอนความยินยอมนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
  2. 10.2 หากท่านถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทหรือไม่ยินยอมที่จะให้ข้อมูลกับบริษัท ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ได้

11. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. 11.1 หากท่านเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องการให้ความยินยอมกับ บริษัทในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับบริษัท
  2. 11.2 ในกรณีที่บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่บริษัทไม่ทราบในขณะประมวลผลถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมาบริษัทได้ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้นในภายหลังว่าบริษัทได้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมข้างต้น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยทันที เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นและไม่ต้องขอความยินยอม

12. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้ท่านทราบ และขอให้ท่านตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

13. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

14. กฎหมายที่ใช้บังคับ

ท่านตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับผู้ถือหุ้นและกรรมการ

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถือหุ้น กรรมการ และตัวแทนของบุคคลดังกล่าว เช่น ผู้รับมอบฉันทะ ผู้รับมอบอำนาจ และบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง (“ท่าน”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน)

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

ในการเก็บรวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลบริษัท จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัดถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและคุณลักษณะบุคคล คำนำหน้า ชื่อ นามสกุล เพศ วันเดือนปีเกิด เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ลายมือชื่อ
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ที่อยู่ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์
ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและการทำงาน ตำแหน่งงาน
ข้อมูลทางการเงิน เลขที่บัญชีธนาคาร
ข้อมูลเอกสารทางราชการ ข้อมูลหลักฐาน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาหนังสือเดินทาง เลขทะเบียนรถยนต์
ข้อมูลอื่นๆ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยกล้องวงจรปิด (CCTV)

โดยทั่วไปแล้ว บริษัทไม่มีความประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลศาสนาและหมู่โลหิตที่ปรากฏอยู่บนหน้าบัตรประจำตัวประชาชนของท่าน หากท่านมอบสำเนาบัตรประชาชนให้แก่บริษัทซึ่งปรากฎข้อมูลดังกล่าว บริษัทขอให้ท่านปกปิดข้อมูลดังกล่าวก่อนส่งมอบให้กับบริษัท หากท่านมิได้ปกปิดข้อมูลข้างต้น ถือว่าท่านยินยอมให้บริษัทดำเนินการปกปิดข้อมูลเหล่านั้น

3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากท่านโดยตรง
  • ข้อมูลที่ปรากฏในสัญญาทางธุรกิจใด ๆ การลงทุน
  • การกรอกข้อมูลในเอกสารหรือแบบฟอร์มทางออนไลน์
  • กระบวนการต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ท่านเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ และตัวแทนของบุคคลดังกล่าว
  • ข้อมูลการโต้ตอบและสื่อสารกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือวิธีใด ๆ เช่น โทรศัพท์ วิดิโอคอล อีเมล SMS ไปรษณีย์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยอัตโนมัติ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่บันทึกผ่านกล้องวงจรปิดในบริเวณบริษัท
  • ข้อมูลทางเทคนิคจากการเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากแหล่งอื่นหรือบุคคลที่สาม
  • แผนกอื่นภายในบริษัท
  • แหล่งข้อมูลจากหน่วยงานผู้มีอำนาจทางกฎหมาย เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  • ข้อมูลจากการตรวจสอบประวัติอื่นๆจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อมูลที่ปรากฏแก่สาธารณะอย่างชัดแจ้งและน่าเชื่อถือ

ในกรณีที่ท่านตกลงและยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายให้บุคคลเหล่านั้นทราบอย่างครบถ้วน รวมทั้งขอความยินยอมจากบุคคลภายนอก และท่านมีหน้าที่รับรองและรับประกันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น

4. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท รวมทั้งเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา
2 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
3 การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท
4 ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest) เป็นการดำเนินงานเพื่อปกป้องประโยชน์สำคัญของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การปกป้องอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อดำเนินการในส่วนงานทะเบียน การมอบฉันทะ การมอบอำนาจ การส่งหนังสือเรียกประชุม โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
2 เพื่อการบริหารงานของบริษัทโดยเป็นไปตามประโยชน์โดยชอบของบริษัท เช่น การจัดประชุมผู้ถือหุ้น การจัดประชุมกรรมการ การบริหารจัดการบริษัท เช่น การพิจารณาเพิ่มทุนลงทุน การปรับโครงสร้างกิจการ โดยเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
3 เพื่อการบันทึกภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวระหว่างการประชุม เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท หรือเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถรับชมได้ในภายหลัง หรือเพื่อการทำประชาสัมพันธ์ของบริษัท ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
4 เพื่อบันทึกการประชุมอันเป็นหลักฐานแห่งการประชุม และจัดทำรายงานการประชุมเพื่อจัดส่งให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
5 การดำเนินการตามกระบวนการสรรหา การคัดเลือก การพิจารณา การตรวจสอบคุณสมบัติ รวมทั้งการปฏิบัติตามสัญญา เช่น การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ การจัดให้มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่กรรมการ
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
6 เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการติดต่อประสานงาน การแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ การจัดส่งเอกสารที่จำเป็นและเกี่ยวข้อง เช่น รายงานประจำปี รายงานทางการเงิน ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
7 เพื่อการชำระเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น การจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ การจัดการอื่นๆเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
8 เพื่อการเข้าทำสัญญากับคู่ค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจหรือบุคคลภายนอก รวมทั้งการดำเนินการต่าง ๆ ของบริษัทก่อนการเข้าทำสัญญาหรือเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
9 เพื่อติดต่อหน่วยงานราชการ การมอบอำนาจ ดำเนินการต่าง ๆ กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง การนำข้อมูลเข้าระบบราชการ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
10 เพื่อป้องกันและระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่าน เช่น การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน การนำส่งโรงพยาบาล การบันทึกประวัติการเดินทาง การดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
11 เพื่อการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในองค์กร การบริหารจัดการภายในบริษัทและบริษัทในเครือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การตรวจสอบจากภายในและจากภายนอก รวมทั้งการประสานงานกับผู้ให้บริการด้านการกำกับตรวจสอบบริษัทและบริษัทในเครือ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
12 เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิต ร่างกาย สุขภาพและทรัพย์สินของท่านภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท เช่น การสอดส่องดูแลด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
13 เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย การปฏิบัติหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือการยกขึ้นสู้ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการดำเนินคดี การบังคับคดี หรือการดำเนินการใด ๆ ตามกระบวนการทางกฎหมาย ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
14 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ใช้บังคับ และเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 5.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลภายในและภายนอกบริษัท ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัท บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

พันธมิตรทางธุรกิจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจในเชิงการบริหารจัดการในเชิงการปฏิบัติงานของบริษัท ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ ขององค์กรนั้นด้วย เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย

ผู้ให้บริการ บริษัทอาจว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เป็นผู้ให้บริการแทนหรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ของผู้ให้บริการนั้นด้วย เช่น ผู้ให้บริการจัดการเว็บไซต์และสื่อสารสนเทศ บริษัทเช่าซื้อ

ที่ปรึกษาวิชาชีพ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบการบริหารงานของบริษัท ที่ปรึกษาในด้านต่าง ๆ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญอื่นใดทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กรมสรรพากร กรมศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ

สื่อสาธารณะ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์บนสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบสารสนเทศหรือไม่ก็ตาม ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดียหรือช่องทางการสื่อสารของบริษัท หรือเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง

  1. 5.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากท่าน บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากท่านเป็นการเฉพาะ

6. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศ

  1. 6.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านสำหรับการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศเป็นการเฉพาะ
  2. 6.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 6.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

7. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 7.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับท่านและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยปกติบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
  2. 7.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. 7.3 บริษัทได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

8. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม

บริษัทมีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม หากท่านไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัทดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป ท่านสามารถขอถอนความยินยอมของท่านเมื่อใดก็ได้ โดยเงื่อนไขของการถอนความยินยอมเป็นไปตามข้อ 10.2

9. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 9.1 บริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 9.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 9.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 10.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการเพิกถอน ความยินยอม (Right to withdraw consent)
  • หากท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบริษัทท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับบริษัท เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
  • ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์บางประการของท่าน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่าน บริษัทแนะนำให้ท่านศึกษาและสอบถามถึงผลกระทบของการเพิกถอนความยินยอม
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
  • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
  • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
ทั้งนี้ หากท่านยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อไปเฉพาะในกรณีที่
  • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของท่าน หรือ
  • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
  • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ในกรณีต่อไปนี้
  • ท่านเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ท่านเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อท่านได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการ ประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่ท่านร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของท่าน
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) ท่านมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) ท่านมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 10.2 ท่านอาจใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 14. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 10.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของท่านอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของท่านได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

11. การถอนความยินยอมและผลกระทบที่เป็นไปได้จากการถอนความยินยอม

  1. 11.1 ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยความยินยอม ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับบริษัทได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ การถอนความยินยอมนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
  2. 11.2 หากท่านถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทหรือไม่ยินยอมที่จะให้ข้อมูลกับบริษัท ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ได้

12. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. 12.1 หากท่านเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องการให้ความยินยอมกับ บริษัทในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับบริษัท
  2. 12.2 ในกรณีที่บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่บริษัทไม่ทราบในขณะประมวลผลถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมาบริษัทได้ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้นในภายหลังว่าบริษัทได้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมข้างต้น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยทันที เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นและไม่ต้องขอความยินยอม

13. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้ท่านทราบ และขอให้ท่านตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

14. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

15. กฎหมายที่ใช้บังคับ

ท่านตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคู่ค้า ผู้ที่คาดว่าจะเป็นคู่ค้า และบุคคลธรรมดาที่เกี่ยวข้องหรือเป็นตัวแทนของคู่ค้า และ/หรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นคู่ค้าที่กระทำการแทนหรือในนาม อาทิ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ผู้รับมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจช่วง พนักงาน ลูกจ้าง และตัวแทนของนิติบุคคล ที่ได้เข้าร่วมหรือจะเข้าร่วมการทำธุรกรรมกับบริษัท (“ท่าน”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ
ผู้ที่คาดว่าจะเป็นคู่ค้า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่อาจเป็นคู่ค้ากับบริษัท ทั้งในกรณีที่ได้แสดงเจตนาจะเข้าทำสัญญาหรือจะลงทะเบียนเป็นคู่ค้าของบริษัท ผู้ที่สนใจเข้าร่วมธุรกิจ ผู้ดำเนินงานร่วมกับบริษัท หรือบุคคลอื่นใดที่ขอใบเสนอราคา หรือที่บริษัทเสนอราคาให้เพื่อพิจารณา
คู่ค้า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาเพื่อขายสินค้าหรือบริการ หรือรับจ้างทำของให้แก่บริษัทไม่ว่าจะได้ขึ้นทะเบียนเป็นคู่ค้ากับบริษัทหรือไม่ก็ตาม พันธมิตรทางธุรกิจ ผู้เข้าร่วมธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการขายให้กับบริษัทโดยตรงหรือว่าเข้าร่วมพัฒนาสินค้าหรือบริการกับบริษัทเพื่อจำหน่ายก็ตาม ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ วิทยากร คู่สัญญาของบริษัท และบุคคลอื่นๆในลักษณะเดียวกัน

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

ในการเก็บรวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลบริษัท จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัดถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและคุณลักษณะบุคคล ชื่อ นามสกุล อายุ เพศ เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวคนต่างด้าว เลขประจำตัวผู้เสียภาษี สัญชาติ ลายมือชื่อ รูปภาพ
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ที่อยู่ อีเมล Line ID หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ทำงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและการทำงาน แผนก ตำแหน่งงาน
ข้อมูลทางการเงิน หมายเลขบัญชีธนาคาร
ข้อมูลที่ใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรมต่าง ๆ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ข้อมูลทางเทคนิค IP Address Mac Address
ข้อมูลอื่นๆ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลของบริษัท
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยกล้องวงจรปิด (CCTV)

โดยทั่วไปแล้ว บริษัทไม่มีความประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว เช่น ข้อมูลศาสนาและหมู่โลหิตที่ปรากฏอยู่บนหน้าบัตรประจำตัวประชาชนของท่าน หากท่านมอบสำเนาบัตรประชาชนให้แก่บริษัทซึ่งปรากฎข้อมูลดังกล่าว บริษัทขอให้ท่านปกปิดข้อมูลดังกล่าวก่อนส่งมอบให้กับบริษัท หากท่านมิได้ปกปิดข้อมูลข้างต้น ถือว่าท่านยินยอมให้บริษัทดำเนินการปกปิดข้อมูลเหล่านั้น

3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากท่านโดยตรง
  • ข้อมูลที่ปรากฏในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารประกอบการประเมินคู่ค้า
  • ข้อมูลที่ปรากฏในสัญญาทางธุรกิจใด ๆ
  • การกรอกข้อมูลในเอกสารหรือแบบฟอร์มทางออนไลน์
  • ข้อมูลบนนามบัตร
  • ข้อมูลการโต้ตอบและสื่อสารกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือวิธีใด ๆ เช่น โทรศัพท์ วิดิโอคอล อีเมล SMS ไปรษณีย์ เป็นต้น
  • ข้อมูลที่ใช้สมัครลงทะเบียนสร้างบัญชีการใช้งาน (Account) หรือ โปรไฟล์ (Profile) กับบริษัท เพื่อใช้ติดต่อกับบริษัททั้งทางช่องทางออฟไลน์และช่องทางออนไลน์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยอัตโนมัติ
  • ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่บันทึกผ่านกล้องวงจรปิดในบริเวณบริษัท
  • ข้อมูลทางเทคนิคจากการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศของบริษัท
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากแหล่งอื่นหรือบุคคลที่สาม
  • แผนกอื่นภายในบริษัท
  • บริษัทต้นสังกัดหรือสถานที่ทำงานของท่าน
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกระทำการแทน อาทิ ผู้รับมอบอำนาจ พนักงาน ลูกจ้าง และตัวแทน
  • แหล่งข้อมูลจากหน่วยงานผู้มีอำนาจทางกฎหมาย
  • ข้อมูลจากผู้ให้บริการของบริษัท
  • ข้อมูลที่ปรากฏแก่สาธารณะอย่างชัดแจ้งและน่าเชื่อถือ

ในกรณีที่ท่านตกลงและยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายให้บุคคลเหล่านั้นทราบอย่างครบถ้วน รวมทั้งขอความยินยอมจากบุคคลภายนอก และท่านมีหน้าที่รับรองและรับประกันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น

4. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญา ซึ่งท่านเป็นคู่สัญญากับบริษัท รวมทั้งเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญา
2 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
3 การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท
4 ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest) เป็นการดำเนินงานเพื่อปกป้องประโยชน์สำคัญของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การปกป้องอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
5 ความยินยอม (Consent) ในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ซึ่งไม่สามารถอาศัยฐานทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ข้างต้นได้ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งเป็นการเฉพาะจากท่าน
ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อการพิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ขึ้นทะเบียนและลงทะเบียนเป็นคู่ค้า การเปิดคู่ค้ารายใหม่ ตลอดจนการดำเนินการใด ๆ ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนคู่ค้า เช่น การตรวจสอบประวัติ การยืนยันตัวตนของท่าน และการดำเนินการตามคำขอต่าง ๆ ของท่านในระบบของบริษัท เช่น การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลของท่าน
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
2 เพื่อการดำเนินการในกระบวนการสรรหาและคัดเลือก การประเมินคุณสมบัติ ความเหมาะสมของท่าน ตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัท การเปรียบเทียบราคา ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
3 เพื่อการพิจารณาลงนามในสัญญา และการดำเนินการของบริษัทตามคำขอของท่านก่อนการเข้าทำสัญญา อาทิ สัญญาว่าจ้าง สัญญาบริการ สัญญาทางการค้า บันทึกข้อตกลง (MOU) สัญญารักษาความลับและอื่นๆ การบริหารจัดการของบริษัทให้เป็นไปตามสัญญา
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
4 เพื่อการดำเนินการใด ๆ ให้เป็นไปตามสัญญาของบริษัท การแจ้งข้อมูลจำเป็นต่อท่านเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ การให้บริการในฐานะคู่ค้า ผู้ให้บริการ การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
5 เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท การจัดทำข่าว การจัดทำประกาศเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
6 เพื่อเก็บข้อมูลการติดต่อสื่อสารในระบบฐานข้อมูลเพื่อการติดต่อและสร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคต ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
7 เพื่อการเรียกเก็บเงินหรือหนี้ที่ท่านค้างชำระอยู่กับบริษัท การเข้าทำธุรกรรม การชำระเงิน รวมไปถึงการดำเนินงานต่าง ๆ ให้เป็นผลสำเร็จแก่การทำธุรกรรม การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชี การออกเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีทั้งการตั้งหนี้ การตั้งค้างจ่าย เช่น ใบกำกับภาษี ใบสำคัญจ่ายเงิน ใบเสร็จรับเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • การปฏิบัติตามสัญญา (Performance of Contract)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
8 เพื่อการควบคุมภายในองค์กร การบริหารจัดการภายในบริษัทและบริษัทในเครือ การกำกับดูแลกิจการที่ดี การตรวจสอบจากภายในและจากภายนอก รวมทั้งการประสานงานกับผู้ให้บริการด้านการกำกับตรวจสอบบริษัทและบริษัทในเครือ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
9 เพื่อการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การสำรองข้อมูล การบันทึกข้อมูลการเข้าใช้งาน ข้อมูลการจราจรบนเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
10 เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยของชีวิต ร่างกาย สุขภาพและทรัพย์สินของท่านภายในและบริเวณโดยรอบของบริษัท เช่น การสอดส่องดูแลด้วยกล้องวงจรปิด (CCTV)
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
11 เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย การปฏิบัติหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือการยกขึ้นสู้ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการดำเนินคดี การบังคับคดี หรือการดำเนินการใด ๆ ตามกระบวนการทางกฎหมาย ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
12 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ใช้บังคับ และเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
13 เพื่อการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของท่านเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ตรวจสอบและรายงานถึงการทุจริต การประพฤติมิชอบ อาชญากรรมทางการเงิน และอาชญากรรมอื่นๆ ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 5.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลภายในและภายนอกบริษัท ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัท บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

พันธมิตรทางธุรกิจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจในเชิงการบริหารจัดการในเชิงการปฏิบัติงานของบริษัท ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับมอบอำนาจ ขององค์กรนั้นด้วย เช่น ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกันภัย เป็นต้น

ผู้ให้บริการ บริษัทอาจว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เป็นผู้ให้บริการแทนหรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ของผู้ให้บริการนั้นด้วย เช่น ผู้ให้บริการจัดการเว็บไซต์และสื่อสารสนเทศ

ที่ปรึกษาวิชาชีพ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ ผู้ตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบการบริหารงานของบริษัท ที่ปรึกษาในด้านต่าง ๆ ผู้ให้บริการทางวิชาชีพและผู้เชี่ยวชาญอื่นใดทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย อาทิ กรมสรรพากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ

สื่อสาธารณะ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์บนสื่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบสารสนเทศหรือไม่ก็ตาม ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียลมีเดียหรือช่องทางการสื่อสารของบริษัท หรือเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้อง

  1. 5.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากท่าน บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากท่านเป็นการเฉพาะ

6. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ

  1. 6.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านสำหรับการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศเป็นการเฉพาะ
  2. 6.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 6.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของของท่าน ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

7. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 7.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับท่านและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยปกติบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกค้ายุติความสัมพันธ์
  2. 7.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. 7.3 บริษัท ได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

8. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม

บริษัทมีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม หากท่านไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัท ดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป ท่านสามารถขอถอนความยินยอมของท่านเมื่อใดก็ได้ โดยเงื่อนไขของการถอนความยินยอมเป็นไปตามข้อ 10.2

9. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 9.1 บริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 9.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย อาทิ การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 9.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 10.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการเพิกถอน ความยินยอม (Right to withdraw consent)
  • หากท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบริษัทท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับบริษัท เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
  • ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์บางประการของท่าน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่าน บริษัทแนะนำให้ท่านศึกษาและสอบถามถึงผลกระทบของการเพิกถอนความยินยอม
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
  • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
  • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
ทั้งนี้ หากท่านยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อไปเฉพาะในกรณีที่
  • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของท่าน หรือ
  • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
  • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ในกรณีต่อไปนี้
  • ท่านเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ท่านเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อท่านได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการ ประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่ท่านร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของท่าน
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) ท่านมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) ท่านมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 10.2 ท่านอาจใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 14. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 10.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของท่านอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของท่านได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

11. การถอนความยินยอมและผลกระทบที่เป็นไปได้จากการถอนความยินยอม

  1. 11.1 ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยความยินยอม ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับบริษัทได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ การถอนความยินยอมนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
  2. 11.2 หากท่านถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทหรือไม่ยินยอมที่จะให้ข้อมูลกับบริษัท ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ได้

12. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. 12.1 หากท่านเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องการให้ความยินยอมกับ บริษัทในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับบริษัท
  2. 12.2 ในกรณีที่บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่บริษัทไม่ทราบในขณะประมวลผลถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมาบริษัทได้ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้นในภายหลังว่าบริษัทได้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมข้างต้น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยทันที เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นและไม่ต้องขอความยินยอม

13. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้ท่านทราบ และขอให้ท่านตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

14. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

15. กฎหมายที่ใช้บังคับ

ท่านตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป

สำหรับผู้มาติดต่อและผู้ขอเข้าอาคาร

บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "บริษัท" ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มาติดต่อและผู้ขอเข้าอาคาร (“ท่าน”) เพื่อให้การเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จึงได้จัดทำนโยบายฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งข้อมูลให้ท่านทราบเกี่ยวกับ สิทธิ หน้าที่ ตลอดจนเงื่อนไขต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวม ใช้ และ/หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

1. คำนิยาม

คำศัพท์ คำนิยาม
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย กฎหมายลำดับรอง กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลธรรมดาซึ่งถูกทำให้ระบุตัวตนได้ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
การประมวลผล/ประมวลผล การดำเนินการใด ๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้างเก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อม ใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย
นโยบาย นโยบายความเป็นส่วนตัว บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) สำหรับผู้มาติดต่อ ผู้ขอเข้าอาคาร
ผู้มาติดต่อ/ผู้ขอเข้าอาคาร ผู้ที่แจ้งความประสงค์กับบริษัทเพื่อขอเข้าใช้บริการ เข้าเยี่ยมชม เข้าปฏิบัติงานหรือทำธุรกรรมใด ๆ กับบริษัทในอาคาร โรงงาน สถานที่ปฏิบัติงาน หรือพื้นที่เฉพาะภายในบริเวณของบริษัท

2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทเก็บรวบรวม

ในการเก็บรวบรวมและเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลบริษัท จะใช้วิธีการที่ชอบด้วยกฎหมายและจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นตามวัดถุประสงค์การดำเนินงานของบริษัท ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนและคุณลักษณะบุคคล ชื่อ นามสกุล อายุ เลขประจำตัวประชาชน ลายมือชื่อ
ข้อมูลสำหรับการติดต่อ ชื่อบริษัท ชื่อหน่วยงานที่ทำงานอยู่
ข้อมูลที่ใช้ประกอบเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรมต่าง ๆ เลขทะเบียนรถ
ข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงที่บันทึกโดยกล้องวงจรปิด (CCTV)
ข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว อาการเจ็บป่วย อาการบาดเจ็บ

3. แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทอาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภท ตัวอย่างแหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บรวบรวม
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากท่านโดยตรง
  • การกรอกข้อมูลในเอกสารหรือแบบฟอร์มทางออนไลน์
  • ข้อมูลบนเอกสารที่บริษัทขอให้ท่านดำเนินการส่งให้บริษัท
  • ข้อมูลการโต้ตอบและสื่อสารกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือวิธีใด ๆ เช่น โทรศัพท์ วิดิโอคอล อีเมล SMS ไปรษณีย์ เป็นต้น
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยอัตโนมัติ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่บันทึกผ่านกล้องวงจรปิดในบริเวณบริษัทs
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับจากแหล่งอื่นหรือบุคคลที่สาม
  • แผนกอื่นภายในบริษัท
  • บริษัทต้นสังกัดหรือสถานที่ทำงานของท่าน
  • ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือกระทำการแทน เช่น ผู้รับมอบอำนาจ พนักงาน ลูกจ้าง และตัวแทน

ในกรณีที่ท่านตกลงและยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกให้แก่บริษัท ท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายให้บุคคลเหล่านั้นทราบอย่างครบถ้วน รวมทั้งขอความยินยอมจากบุคคลภายนอก และท่านมีหน้าที่รับรองและรับประกันความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น

4. วัตถุประสงค์และฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ โดนอาศัยฐานทางกฎหมาย ดังต่อไปนี้

ลำดับ ฐานทางกฎหมาย การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
1 ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest) เป็นการดำเนินงานที่จำเป็นของบริษัทภายใต้ประโยชน์โดยชอบตามกฎหมาย โดยไม่เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล และไม่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเกินควร
2 การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริษัท ซึ่งรวมไปถึงการดำเนินการที่จำเป็นในกระบวนการทางกฎหมาย
3 ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest) เป็นการดำเนินงานเพื่อปกป้องประโยชน์สำคัญของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การปกป้องอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
4 ความยินยอม (Consent) ในกรณีที่บริษัทมีความจำเป็นต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งไม่สามารถอาศัยฐานทางกฎหมายตามที่ระบุไว้ข้างต้น บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมเป็นการเฉพาะจากท่าน และจะประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวในกรณีที่สามารถทำได้ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่าน
ลำดับ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1 เพื่อควบคุมการเข้าอาคาร โรงงาน สถานที่ปฏิบัติงาน หรือพื้นที่เฉพาะภายในบริเวณของบริษัทของท่าน ตลอดจนเพื่อสังเกตการณ์ ป้องกันและขัดขวาง ตลอดจนตรวจสอบการเข้าบริเวณดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมไปถึงการแลกบัตร การลงทะเบียน การบันทึกประวัติและข้อมูลที่จำเป็นของท่าน ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
2 เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย สุขภาพ และทรัพย์สินของท่าน รวมไปถึงความปลอดภัยของอาคาร โรงงาน สถานที่ปฏิบัติงาน หรือพื้นที่เฉพาะภายในบริเวณของบริษัท ตลอดจนทรัพย์สินของบริษัท รวมทั้งจัดให้มีการดำเนินการตามกระบวนการภายในอันจำเป็นก่อนการเข้าปฏิบัติงานใด ๆ ภายในบริษัท
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
3 เพื่อควบคุมการเข้าถึงแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูลของบริษัท ตลอดจนเพื่อสังเกตการณ์ ป้องกัน ขัดขวาง และตรวจสอบการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
4 เพื่อการบริหารจัดการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและประโยชน์ด้านสาธารณสุข
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
  • ความยินยอม (Consent)
5 เพื่อป้องกันและระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของท่าน เช่น การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน การนำส่งโรงพยาบาล การบันทึกประวัติการเดินทาง การดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อ
  • ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)
  • ประโยชน์สำคัญต่อชีวิต (Vital Interest)
6 เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย การปฏิบัติหรือการใช้สิทธิเรียกร้องทางกฎหมาย หรือการยกขึ้นสู้ซึ่งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการดำเนินคดี การบังคับคดี หรือการดำเนินการใด ๆ ตามกระบวนการทางกฎหมาย ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
7 เพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ใช้บังคับ และเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งของหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการต่าง ๆ ตามกระบวนการทางกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย (Legal Obligation)

5. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 5.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลภายในและภายนอกบริษัท ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายในบริษัท บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ บุคลากรของบริษัท หน่วยงานภายในบริษัท โดยหมายรวมถึง ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน อย่างไรก็ดี บริษัทจะจำกัดแค่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็นต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้น

ผู้ให้บริการ บริษัทอาจว่าจ้างผู้ให้บริการภายนอก (Outsource) เป็นผู้ให้บริการแทนหรือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัทและการให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งรวมไปถึง ตัวแทน ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างช่วง ของผู้ให้บริการนั้นด้วย เช่น บริษัทให้บริการรักษาความปลอดภัย

ที่ปรึกษาวิชาชีพ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้แก่ ผู้ตรวจสอบการบริหารงานของบริษัท ที่ปรึกษาในด้านต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญอื่นใดทั้งภายในและภายนอกบริษัท เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท

หน่วยงานรัฐที่มีอำนาจ บริษัทอาจต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลบริษัท หรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ศาล รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ

  1. 5.2 บริษัทจะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างเหมาะสม และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ รวมถึงจะดำเนินการภายใต้วัตถุประสงค์ที่กำหนดในนโยบายฉบับนี้หรือวัตถุประสงค์อื่นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทำได้เท่านั้น โดยในกรณีที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้ต้องขอความยินยอมจากท่าน บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมจากท่านเป็นการเฉพาะ

6. การส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศ

  1. 6.1 ในการดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ บริษัทอาจส่งต่อหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่บริษัทจะต้องส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้รับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ต่างประเทศ บริษัทจะแจ้งและขอความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านสำหรับการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศเป็นการเฉพาะ
  2. 6.2 ในการส่งต่อหรือโอนข้อมูลดังกล่าว บริษัทจะจัดให้มีมาตรการการคุ้มครองและรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสม และจะปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยบริษัทจะดำเนินการตามมาตรการเพื่อทำให้มั่นใจว่าประเทศปลายทางหรือองค์การระหว่างประเทศที่รับข้อมูลส่วนบุคคลมีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับที่เพียงพอหรือเป็นไปตามเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดอื่นๆ
  3. 6.3 บริษัทอาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนคอมพิวเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือคลาวด์ (Cloud) ที่ให้บริการโดยบุคคลอื่น และอาจใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่นของบุคคลอื่นในรูปแบบของการให้บริการซอฟท์แวร์สำเร็จรูปและรูปแบบของการให้บริการแพลตฟอร์มสำเร็จรูปในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของของท่าน ทั้งนี้ บริษัทจะไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และจะกำหนดให้บุคคลอื่นเหล่านั้นต้องมีมาตรการคุ้มครองความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม

7. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 7.1 บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่ใช้กำหนดระยะเวลาเก็บ ได้แก่ ระยะเวลาที่บริษัทดำเนินความสัมพันธ์กับท่านและแนวปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภท โดยปกติบริษัทจะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปีนับแต่วันที่ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
  2. 7.2 เมื่อพ้นระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้นหรือเมื่อหมดความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยทันที ทั้งนี้ บริษัท อาจเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านทั้งหมดหรือบางส่วนเกินกว่าระยะเวลาที่ระบุไว้ข้างต้น เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
  3. 7.3 บริษัท ได้จัดให้มีระบบตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นระยะเวลาในการเก็บรักษาหรือหมดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลนั้น

8. การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์เดิม

บริษัทมีสิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่บริษัทได้เก็บรวบรวมไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับต่อไปตามวัตถุประสงค์เดิม หากท่านไม่ประสงค์ที่จะให้บริษัท ดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวต่อไป ท่านสามารถขอถอนความยินยอมของท่านเมื่อใดก็ได้ โดยเงื่อนไขของการถอนความยินยอมเป็นไปตามข้อ 10.2

9. มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล

  1. 9.1 บริษัทได้จัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative measure) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical measure) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (physical measure) เพื่อธำรงไว้ซึ่งความลับ ความถูกต้องครบถ้วน และสภาพพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลจากผู้ที่ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
  2. 9.2 บริษัทได้มีการบังคับใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยภายในบริษัท อย่างเข้มงวด โดยใช้เทคโนโลยีและขั้นตอนการรักษาความมั่นคงปลอดภัย เช่น การจัดให้มีมาตรการควบคุมการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล โดยกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูล สิทธิในการอนุญาตให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าถึงข้อมูลได้ รวมทั้งการจัดให้มีมาตรการสำหรับการตรวจสอบย้อนหลัง เพื่อให้มั่นใจว่าเฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและบุคคลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมและมีความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล
  3. 9.3 บริษัทจะจัดให้มีการทบทวนมาตรการดังกล่าว รวมทั้งปรับปรุงและพัฒนามาตรการดังกล่าว เมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

10. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการใช้สิทธิในการดำเนินการดังกล่าว

  1. 10.1 ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามที่ระบุ ดังต่อไปนี้
สิทธิของเจ้าของ ข้อมูลส่วนบุคคล รายละเอียด
สิทธิในการเพิกถอน ความยินยอม (Right to withdraw consent)
  • หากท่านได้ให้ความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบริษัทท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ตลอดเวลาที่ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับบริษัท เว้นแต่มีข้อจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน
  • ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของท่านอาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์บางประการของท่าน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของท่าน บริษัทแนะนำให้ท่านศึกษาและสอบถามถึงผลกระทบของการเพิกถอนความยินยอม
สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลและขอรับสำเนาข้อมูล (Right to access and retrieve a copy of data)
  • ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและได้รับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงมีสิทธิให้บริษัทเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอม
  • เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคำสั่งศาลหรือเป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูล (Right to data portability)
  • ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งานได้ด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และสามารถใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น และมีสิทธิขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่นโดยตรง
  • เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจาก
    • เหตุผลทางเทคนิค
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
    • เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หรือ
    • เป็นกรณีที่จะมีผลกระทบต่อความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
สิทธิในการคัดค้าน การประมวลผลข้อมูล (Right to object to Data Processing) ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่บริษัท ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • เพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทหรือของบุคคลอื่น
  • เพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง หรือ
  • เพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ
ทั้งนี้ หากท่านยื่นขอใช้สิทธิคัดค้าน บริษัทจะยังคงดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อไปเฉพาะในกรณีที่
  • บริษัทสามารถแสดงเหตุผลตามกฎหมายได้ว่ามีความสำคัญยิ่งกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานของท่าน หรือ
  • เป็นไปเพื่อการยืนยันสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือการต่อสู้ในการฟ้องร้องตามกฎหมาย หรือ
  • เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ
สิทธิขอให้ลบหรือทำลายข้อมูล (Right to erasure/Right to be forgotten) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทดำเนินการลบ ทำลายข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวท่านได้ในกรณีต่อไปนี้
  • ท่านเชื่อว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • ท่านเห็นว่าบริษัทหมดความจำเป็นในการเก็บรักษาไว้ตามวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในนโยบายฉบับนี้ หรือ
  • เมื่อท่านได้ใช้สิทธิในการเพิกถอนความยินยอมหรือใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลตามที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว
สิทธิขอให้ระงับการ ประมวลผลข้อมูล (Right to restriction of Data Processing) ท่านมีสิทธิขอให้บริษัทระงับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
  • เมื่ออยู่ในระหว่างรอการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่ท่านได้ร้องขอให้แก้ไขข้อมูลดังกล่าวให้ถูกต้อง
  • เมื่อเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องลบแต่ท่านร้องขอให้ระงับแทน หรือ
  • เมื่ออยู่ในระหว่างการพิสูจน์ตรวจสอบของบริษัทเกี่ยวกับการใช้สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลของท่าน
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง (Right to rectification) ท่านมีสิทธิขอให้มีบริษัทดำเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
สิทธิในการร้องเรียน (Right to lodge a complaint) ท่านมีสิทธิร้องเรียนมายังบริษัทหรือหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย หากท่านเชื่อว่าการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เป็นการกระทำในลักษณะที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  1. 10.2 ท่านอาจใช้สิทธิข้างต้นของท่านได้ตลอดเวลา โดยติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อตามข้อ 14. เพื่อดำเนินการแจ้งขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  2. 10.3 การใช้สิทธิดังกล่าวของท่านอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และอาจมีบางกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่บริษัทอาจปฎิเสธหรือไม่สามารถดำเนินการตามคำขอใช้สิทธิของท่านได้ ในกรณีนี้บริษัทจะแจ้งเหตุผลของการปฎิเสธพร้อมกับคำตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิดังกล่าว

11. การถอนความยินยอมและผลกระทบที่เป็นไปได้จากการถอนความยินยอม

  1. 11.1 ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยความยินยอม ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะถอนความยินยอมที่ให้ไว้กับบริษัทได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ การถอนความยินยอมนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบ
  2. 11.2 หากท่านถอนความยินยอมที่ได้ให้ไว้กับบริษัทหรือไม่ยินยอมที่จะให้ข้อมูลกับบริษัท ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อาจส่งผลให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่กำหนดไว้ในนโยบายฉบับนี้ได้

12. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. 12.1 หากท่านเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ และต้องการให้ความยินยอมกับ บริษัทในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ท่านจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ก่อนที่จะให้ความยินยอมกับบริษัท
  2. 12.2 ในกรณีที่บริษัทต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ แต่บริษัทไม่ทราบในขณะประมวลผลถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และต่อมาบริษัทได้ทราบถึงข้อเท็จจริงนั้นในภายหลังว่าบริษัทได้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมข้างต้น บริษัทจะดำเนินการลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้โดยทันที เว้นแต่เป็นกรณีที่บริษัทสามารถประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวได้โดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นและไม่ต้องขอความยินยอม

13. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายความเป็นส่วนตัว

บริษัทอาจมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายความเป็นส่วนตัวได้ตามความเหมาะสมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยหากเป็นการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของนโยบายฉบับนี้ บริษัทจะแจ้งการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายให้ท่านทราบ และขอให้ท่านตรวจสอบนโยบายฉบับนี้เป็นประจำ

14. ช่องทางการติดต่อ

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีความประสงค์ต้องการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กรุณาติดต่อผ่านช่องทางการติดต่อดังนี้

ติดต่อบริษัทและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

สถานที่ติดต่อ: บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) 99/1 หมู่ 4 ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110

อีเมล: DPO@nrinstant.com

หมายเลขโทรศัพท์: 034849576-80

15. กฎหมายที่ใช้บังคับ

ท่านตกลงและรับทราบว่านโยบายฉบับนี้อยู่ภายใต้การบังคับและการตีความตามกฎหมายไทยและศาลไทยเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาชี้ขาดข้อพิพาทใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมครั้งที่ 9/2568 เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2568 ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 เป็นต้นไป